วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบ 1





แบบทดสอบเรื่อง ... 5 ... ข้อ









วิชาภาษาไทย ท 21101 ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1

เรื่อง ... 5 ... ข้อ

โดย อ.ภาสกร บาลไธสง .. โรงเรียน กลันทาพิทยาคม

คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)
การที่จะแต่งบทร้อยกรองให้ไพเราะชวนอ่านนั้นมีองค์ประกอบใดบ้าง

    แต่งตามสาระเรื่องราวที่คนสนใจ

   แต่งตามกระแสสังคมในยุคนั้นๆ

   แต่งโดยใช้ภาษาที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น

   แต่งตามกฎเกณฑ์ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์


ข้อที่ 2)
ข้อใดอธิบายคำว่า ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ได้ชัดเจนที่สุด

   บทประพันธ์ที่มีสัมผัสคล้องจองกันชัดเจน

   การผูกถ้อยคำให้เป็นบทร้อยกรองชนิดต่าง ๆ

   ข้อบังคับที่โบราณวางเป็นแบบในการแต่งบทร้อยกรอง

   การจัดเรียงคำเป็นวรรคเป็นคำและเป็นบาทตามชนิดของคำประพันธ์


ข้อที่ 3)
คำประพันธ์ประเภทใดบังคับ เรื่อง เสียงวรรณยุกต์

   กลอนสุภาพ

   กาพย์ยานี ๑๑

   โคลงสี่สุภาพ

   กาพย์ฉบัง ๑๖


ข้อที่ 4)
คำประพันธ์ประเภทใดมีสัมผัสบังคับน้อยที่สุด

   กาพย์ยานี ๑๑

   โคลงสี่สุภาพ

   กาพย์ฉบัง ๑๖

   กลอนสุภาพ


ข้อที่ 5)
ข้อความต่อไปนี้ถ้าแบ่งวรรคตอนถูกต้อง จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทใด ? “ หวานใดไม่หวานนักเท่ารสรักสมัครสมไร้รักหนักอารมณ์หวานเหมือนขมอมโศกา”

   กาพย์ฉบัง ๑๖

   กาพย์ยานี ๑๑

   กลอนสุภาพ

   โคลงสี่สุภาพ


ข้อที่ 6)


   

   

   

   


ข้อที่ 7)


   

   

   

   


ข้อที่ 8)


   

   

   

   


ข้อที่ 9)


   

   

   

   


ข้อที่ 10)


   

   

   

   









แบบทดสอบเรื่อง ... 5 ... ข้อ









วิชาภาษาไทย ท 21101 ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1

เรื่อง ... 5 ... ข้อ

โดย อ.ภาสกร บาลไธสง .. โรงเรียน กลันทาพิทยาคม

คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)
การที่จะแต่งบทร้อยกรองให้ไพเราะชวนอ่านนั้นมีองค์ประกอบใดบ้าง

    แต่งตามสาระเรื่องราวที่คนสนใจ

   แต่งตามกระแสสังคมในยุคนั้นๆ

   แต่งโดยใช้ภาษาที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น

   แต่งตามกฎเกณฑ์ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์


ข้อที่ 2)
ข้อใดอธิบายคำว่า ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ได้ชัดเจนที่สุด

   บทประพันธ์ที่มีสัมผัสคล้องจองกันชัดเจน

   การผูกถ้อยคำให้เป็นบทร้อยกรองชนิดต่าง ๆ

   ข้อบังคับที่โบราณวางเป็นแบบในการแต่งบทร้อยกรอง

   การจัดเรียงคำเป็นวรรคเป็นคำและเป็นบาทตามชนิดของคำประพันธ์


ข้อที่ 3)
คำประพันธ์ประเภทใดบังคับ เรื่อง เสียงวรรณยุกต์

   กลอนสุภาพ

   กาพย์ยานี ๑๑

   โคลงสี่สุภาพ

   กาพย์ฉบัง ๑๖


ข้อที่ 4)
คำประพันธ์ประเภทใดมีสัมผัสบังคับน้อยที่สุด

   กาพย์ยานี ๑๑

   โคลงสี่สุภาพ

   กาพย์ฉบัง ๑๖

   กลอนสุภาพ


ข้อที่ 5)
ข้อความต่อไปนี้ถ้าแบ่งวรรคตอนถูกต้อง จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทใด ? “ หวานใดไม่หวานนักเท่ารสรักสมัครสมไร้รักหนักอารมณ์หวานเหมือนขมอมโศกา”

   กาพย์ฉบัง ๑๖

   กาพย์ยานี ๑๑

   กลอนสุภาพ

   โคลงสี่สุภาพ


ข้อที่ 6)


   

   

   

   


ข้อที่ 7)


   

   

   

   


ข้อที่ 8)


   

   

   

   


ข้อที่ 9)


   

   

   

   


ข้อที่ 10)


   

   

   

   





วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อธิบายการแต่งกลอนแปดสุภาพ





 
อธิบายกลอนแปดสุภาพ

     กลอนแปดสุภาพนั้น บทหนึ่งมี ๒ คำกลอน หนึ่งคำกลอนมี ๒ วรรค
 
แต่ละวรรคมี ๘ คำ

การสัมผัส

ให้คำสุดท้ายวรรคแรก(วรรคสดับ) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒
 
(วรรครับ)

ให้คำสุดท้ายวรรคที่สอง(วรรครับ) ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
 
(วรรครอง)

ให้คำสุดท้ายของวรรคที่สาม(วรรครอง) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่
 
สี่ (วรรคส่ง)

การสัมผัสระหว่างบท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การสัมผัสเชื่อมร้อยระหว่างบท 

     การเชื่อมสัมผัสระหว่างบท ให้คำสุดท้ายของวรรคทึ่สี่ คือ วรรคส่ง ไปสัมผัส
 
กับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง คือวรรครับของบทถัดไป ให้แต่งเชื่อมบทอย่างนี้
 
เรื่อยไปจนจบเนื้อความตามที่ต้องการ

การบังคับสัมผัส

     มีข้อบังคับสัมผัสนอก ๓ แห่ง คือ ในบท ๒ แห่ง และสัมผัสเชื่อมระหว่างบท
 
๑ แห่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะสัมผัสสระ หรือพยัญชนะเพื่อความไพเราะในบท
 
เดียวกัน ก็จักทำให้กลอนแต่ละบทมีความไพเราะเสียงกลมกลืนยิ่งขึ้น

     ข้อบังคับ เรื่องการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค มีดังนี้

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมสามัญ

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ และตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญ หรือ ตรี ห้ามเสียง เอก โท จัตวา ส่วน
 
มากนิยมเสียงสามัญ

     ดังแผนผังสัมผัสต่อไปนี้
 




ผังบังคับสัมผัส

     ผังสัมผัสบังคับ และสัมผัสสระ สัมผัสอักษรเพื่อความไพเราะ  หรือจะเรียกว่า
 
มีทั้งการสัมผัสนอกและสัมผัสใน ดังแผนผังการแต่งกลอนของ ท่านพระสุนทร
 
โวหาร หรือ ท่านสุนทรภู่ มีกลเม็ดวิธีสัมผัสดังนี้

ผังสัมผัสบังคับรวมทั้งสัมผัสอักษร(พยัญชนะ) และสัมผัสสระเพื่อความไพเราะ
 



ตัวอย่างการสัมผัส กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ ดังต่อไปนี้

         ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า มหาสมุทร          ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน

     แม้นเกิดใน ใต้หล้า สุธาธาร               ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดคลา

     แม้เนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ            พี่ขอพบ ศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา

     แม้เป็นบัว ตัวพี่ เป็นภุมรา                 เชยผกา โกสุม ปทุมทอง

     เจ้าเป็นถ้ำ อำไพ ขอให้พี่                 เป็นราชสีห์ สมสู่ เป็นคู่สอง

     จะติดตาม ทรามสงวน นวลละออง     เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป.

            วิธีใช้วรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค

๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค สดับ ใช้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไม่นิยมสามัญ

๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค รับ ห้ามใช้ สามัญและตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก

๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค รอง ใช้ สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา

๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค ส่ง ใช้ สามัญหรือตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา นิยม
 
สามัญ

     กลอนแปดสุภาพ ต่อไปนี้ เป็นกลอนที่ข้าพเจ้าแต่งขึ้นโดยแทรกธรรมะไว้เพื่อ

ให้คติเตือนใจหรือให้ข้อคิดทุกบทกลอน และได้ตั้งชื่อหัวข้อเรื่องไว้ด้วย เมื่อท่าน

อ่านแล้วกรุณาได้โปรดใช้ความคิดพินิจพิเคราะห์ให้ดี และบทกลอนที่มีเนื้อความ
 
สั้นๆ ทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อเรื่องว่า คลายกังวลทางพ้นทุกข์  

จิตผุดผ่องเพราะเห็นธรรม

      เกิดเป็นสัตว์ มนุษย์ ไม่สุดสิ้น      มาราคิน สิ่งจร สะท้อนหลง

      จิตบริสุทธิ์ ผุดผ่อง มาหมองลง    เพราะโลภหลง มายา มาหุ้มใจ

      หัดนึกถึง ร่างตน หมดจนจิต        สุดชีวิต แค่ตาย ไร้สาไถย

      หัดละวาง ว่างสงบ จบเรื่องใจ      พบโลกใหม่ ผุดผ่อง มองเห็นธรรม.

                                                            ...หยาดกวี...